มะเร็งเต้านม ผู้ชายใครว่าไม่เสี่ยง? “โรคมะเร็งเต้านม” หนึ่งในภัยร้ายที่คร่าชีวิตของผู้ชายหลายคนแบบไม่รู้ตัว หมอขอบอกเลยนะครับว่า แม้ผู้ชายจะมีหน้าอกไม่ใหญ่เหมือนผู้หญิง แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้เช่นเดียวกัน แต่อัตราจะต่ำกว่ามากครับ สำหรับใครที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชายหน้าอกใหญ่ มีเต้านมเหมือนผู้หญิง ลองมาสังเกตอาการตัวเองกันดูนะครับว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากแค่ไหน หรือจริง ๆ แล้ว อาจจะกำลังเป็นโรคอื่นอยู่!? – บทความโดย นพ. วีรกานต์ สถิตนิรามัย (หมอวี) ศัลยแพทย์ตกแต่งเฉพาะทาง ที่ Amara Clinic

เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจ ได้ที่นี่เลยค่ะ
มะเร็งเต้านม ผู้ชายเป็นได้จริงเหรอ?
จากสถิติของสถาบันโรงมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม 1 ใน 100 ของผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทั้งหมด ไม่ใช่ว่าเป็นผู้หญิง ไม่มีเต้านมเหมือนผู้หญิงแล้ว จะเป็นมะเร็งเต้านมไม่ได้นะครับ ผู้ชายก็มีต่อมน้ำนม หรือฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen) เหมือนกัน เพียงแต่ผู้ชายส่วนใหญ่จะมีปริมาณที่ต่ำมาก ซึ่งมะเร็งเต้านมผู้ชายในระยะแรกอาจจะไม่ได้น่ากลัวนัก เราสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าใครที่เพิ่งมารู้ตัวว่าเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชายในระยะหลัง ๆ หรือระยะสุดท้าย อันนี้ก็มีความอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยครับ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันสามารถรักษาประคับประคองอาการนี้ จนไม่ถึงขั้นเสียชีวิตได้แล้วครับ
ระยะของมะเร็งเต้านมผู้ชาย
ระยะของมะเร็งเต้านมผู้ชาย เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ตามความรุนแรงของอาการครับ คือ ระยะแรกเริ่ม, ระยะลุกลาม, ระยะแพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง และระยะการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ครับ ซึ่งความเร็วในการลุกลามของมะเร็งเต้านมในผู้ชายนี้ จะมีการลุกลามเร็วมากกว่ามะเร็งเต้านมในผู้หญิงครับ เนื่องจากบริเวณเต้านมของผู้ชาย เป็นบริเวณที่มีไขมันค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนกับผู้หญิงที่มีไขมันในเต้านมมากกว่า จึงทำให้มะเร็งเต้านมผู้ชาย มีการลุกลามและอันตรายมากกว่ามะเร็งเต้านมในผู้หญิงครับ
ระยะที่ 1 : จุดเริ่มต้นของของมะเร็งเต้านมผู้ชาย
ระยะแรกเริ่มของมะเร็งเต้านมผู้ชาย บางคนอาจจะไม่ทันได้รู้ตัวด้วยซ้ำไปครับ ว่าที่อยู่ ๆ หน้าอกของตัวเองก็มีก้อนขึ้นมา ก้อนมะเร็งเต้านมผู้ชายในระยะแรกนี้ จะมีขนาดไม่เกิน 1 นิ้วครับ
ระยะที่ 2 : การเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมผู้ชาย
เมื่อเกิดมะเร็งเต้านมชายในระยะแรกขึ้น แล้วยังไม่รู้ตัว หรือเข้าไปทำการรักษา ตัวก้อนมะเร็งเต้านมชายนี้ จะเจริญเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จาก 1 นิ้ว ก็อาจจะขยายใหญ่ไปได้มากกว่า 2 นิ้ว และยังสามารถแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้อีกด้วย แต่ก้อนมะเร็งเต้านมในระยะนี้ จะเจริญเติบโตได้ 1 ใน 3 รูปแบบนี้ คือ
- ก้อนมะเร็งเต้านมผู้ชาย มีขนาดเล็กกว่า 1 นิ้ว แต่ลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลือใต้รักแร้แล้ว
- ก้อนมะเร็งเต้านมผู้ชาย มีขนาด 1-2 นิ้ว อาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว หรือยังไม่ลุกลามก็ได้
- ก้อนมะเร็งเต้านมผู้ชาย มีขนาดใหญ่กว่า 2 นิ้ว แต่ยังไม่เกิดการลุกลามใด ๆ

ระยะที่ 3 : แพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง
เมื่อก้อนมะเร็งเต้านมใหญ่ขึ้น ก็จะเริ่มมีการแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ซึ่งในระยะนี้ จะเป็นการแพร่กระจายไปยังบริเวณที่ใกล้เคียงกับหน้าอกของเราครับ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน และแต่ละกลุ่มจะเกิดขึ้นเพียง 1 รูปแบบเท่านั้น
ระยะที่ 3.1
- ก้อนมะเร็งเต้านมชาย มีขนาดเล็กกว่า 2 นิ้ว แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือใต้รักแร้ และบริเวณอื่น ๆ
- ก้อนมะเร็งเต้านมผู้ชาย มีขนาดใหญ่กว่า 2 นิ้ว แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้เท่านั้น
ระยะที่ 3.2
- มะเร็งเต้านมผู้ชาย แพร่กระจายไปยังบริเวณผิวหนัง กล้ามเนื้อ หรือกระดูก
- มะเร็งเต้านมผู้ชาย แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ผนังทรวงอกแล้ว
ระยะที่ 4 : แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
เมื่อมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังบริเวณใกล้เคียง แต่ยังไม่ได้รับการรักษา หรือหยุดยั้ง ก็จะแพร่กระจายต่อไปยังอวัยวะในร่างกายอื่น ๆ ที่อยู่ไกลจากเต้านมมากขึ้น เช่น สมอง, กระดูก, ตับ หรือปอดครับ ซึ่งในระยะนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แล้ว แต่สามารถรักษาแบบประคับประคองอาการไป ให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติต่อไปได้อยู่นะครับ
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง : ต่อมน้ำเหลืองบวม ไหปลาร้าโต
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังสมอง : มีอาการปวดหัว อาเจียน ชัก หมดสติ
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังกระดูก : ปวดกระดูก ปวดข้อ กระดูกกร่อน และเสี่ยงเป็นอัมพาต
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังปอด : ลมหายใจมีกลิ่น ติดเชื้อในปอด หอบ เหนื่อย ไอ นอนราบไม่ได้
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังผิวหนัง : มีก้อนแข็งมาก ๆ อยู่ใต้ผิว
อาการของมะเร็งเต้านมผู้ชาย
อาการของโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย มักจะเกิดขึ้นตามระยะของโรคครับ ในระยะแรก ๆ บางคนอาจจะสังเกตได้ว่ามีอาการแปลก ๆ เกิดขึ้น หรือบางคนอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย และไม่ได้สังเกตหน้าอกตัวเองบ่อย ๆ ซึ่งระยะที่อาการชัดมาก ๆ และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมาก ๆ จะเป็นระยะที่มะเร็งเต้านมผู้ชายได้แพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ แล้วครับ แน่นอนว่า ยิ่งอาการมันชัดมากเท่าไหร่ ความอันตรายของมะเร็งก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น

อาการของมะเร็งเต้านมผู้ชาย ระยะแพร่กระจาย
- มีอาการเจ็บจี๊ด หรือแสบร้อนที่หน้าอก
- มีน้ำปนเลือด หรือของเหลวไหลออกมา
- เต้านมไม่เรียบเนียน มีความขรุขระ
- หัวนมมีผื่นขึ้น หรือมีแผลเรื้อรัง
- เวียนหัว คลื่นไส้ อาจะถึงขึ้นชักได้
- ลมหายใจมีกลิ่นมากกว่าปกติ
- ปวดกระดูกมากเป็นพิเศษ
- เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจหอบถี่ ไอหนัก
- น้ำหนักตัวลดลง
- มีอาการบวมบริเวณต้นแขน
ปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชาย
ปัจจัยหรือโอกาสที่ทำให้ผู้ชายเป็นมะเร็งเต้านมนั้น เกิดได้จากทั้งปัจจัยทางด้านร่างกายตั้งแต่กำเนิด และปัจจัยการพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตครับ ส่วนใหญ่เคสมะเร็งเต้านมผู้ชาย มักจะพบได้มากในผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ครับ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายมีดังนี้
- เกิดจากพันธุกรรม (คนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน)
- Klinefelter Syndrome หรือมีโครโมโซม X เกินมา 1 ตัว
- คนที่มีฮอร์โมน์เพศหญิง (ฮอร์โมนเอสโตรเจน) มากกว่าปกติ
- คนที่มีฮอร์โมนเพศชายน้อยลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น
- คนที่มีขนาดของอัณฑะเล็ก หรือมีการผลิตอสุจิน้อยเกินไป (เป็นหมัน)
- คนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือมีภาวะโรคอ้วน หรือมีโรคแทรกซ้อนของโรคอ้วน
- คนที่เคยผ่านการฉายรังสีที่บริเวณหน้าอกมาก่อน
- ช่วงไหล่มีขนาดที่แคบกว่า หรือเล็กกว่าช่วงเอว
วิธีการรักษาเมื่อเป็นมะเร็งเต้านมผู้ชาย
สำหรับใครที่รู้สึกว่าหน้าอกของตัวเองมีความผิดปกติเกิดขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุที่มาที่ทำให้หน้าอกใหญ่ครับ ในบางรายอาจจะเป็นก้อนมะเร็งเต้านมจริง แต่ในบางรายอาจจะเป็นก้อนไขมัน หรือต่อมน้ำนมส่วนเกินก็ได้ครับ โดยวิธีการรักษามะเร็งเต้านมผู้ชาย มักจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่คนไข้กำลังพบเจออยู่ โดยมีวิธีการรักษาดังนี้
- การผ่าตัดนำก้อนมะเร็งเต้านมออกไป
- การใช้ยาเคมีบำบัด (การทำคีโม : Chemotherapy)
- การฉายแสง หรือฉายรังสีรักษามะเร็ง
- การใช้ฮอร์โมนบำบัดในระยะยาว
วิธีป้องกันมะเร็งเต้านมผู้ชาย
ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุอย่างชัดเจนว่า วิธีไหนสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมผู้ชายได้อย่างชัดเจน มีเพียงแต่วิธีป้องกัน หรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งเต้านมเท่านั้นครับ วิธีดังกล่าวคือ
- ตรวจเช็คอาการของหน้าอกอยู่เสมอ
- ตรวจเอกซเรย์เต้านมปีละ 1 ครั้ง
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ลดปริมาณในการดื่มแอลกอฮอล์ลง
- ลดเนื้อสัตว์ ลดอาหารที่มีไขมันสูง
- เพิ่มปริมาณการกินผักและผลไม้
ถ้านมใหญ่ = เป็นมะเร็งเต้านมชาย?
เป็นผู้ชายนมใหญ่ ไม่ได้แปลว่าจะเป็นมะเร็งเต้านมในผู้ชายเสมอไปนะครับ มะเร็งเต้านมพบได้น้อยกว่าภาวะเต้านมโตในผู้ชาย (Gynecomastia) อีกนะครับ อย่างที่เราทราบกันแล้วว่าถ้าเป็นมะเร็งเต้านมผู้ชาย เวลาจับจะแข็ง ๆ แต่ถ้าเป็นภาวะเต้านมโตนี้ จะมีลักษณะนิ่ม ๆ เหมือนไขมันครับ ภาวะนี้สามารถเกิดได้จากทั้งต่อมน้ำนมที่เจริญเติบโตผิดปกติ, ไขมันส่วนเกินสะสมที่หน้าอกเยอะ และเกิดได้จากทั้งสองสาเหตุควบคู่กันไป แต่ไม่ได้มีความอันตรายแบบมะเร็งเต้านมใด ๆ ส่งผลกับความเท่ ความเฟิร์ม และความไม่มั่นใจของเราเท่านั้นครับ
การรักษาภาวะหน้าอกโต (ไม่ใช่มะเร็งเต้านม)
- นมแหลม เพราะต่อมน้ำนมใหญ่ : กำจัดได้ด้วยการผ่าตัดลดขนาดหน้าอกชาย
- หน้าอกโต เพราะไขมันส่วนเกิน : รักษาได้ด้วยการดูดไขมันหน้าอกออกไป
- เต้านมใหญ่ หน้าอกโผล่ เพราะสองสาเหตุ : ตัดหน้าอก + ดูดไขมันหน้าอก
บทความที่เกี่ยวข้อง
สรุป
สรุปว่า โรคมะเร็งเต้านม ผู้ชายทุกคนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ หากเรารู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ มีการรักษาได้เร็ว ความอันตรายก็จะลดน้อยลงครับ ดังนั้น หมอแนะนำให้หมั่นเช็คหน้าอกตัวเองว่าใหญ่ผิดปกติหรือเปล่า? มีก้อนแข็ง ๆ ใต้หน้าอกหรือไม่? สำหรับบางคนอาจจะเป็นเพียงไขมันส่วนเกินก็ได้ครับ อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี และปรับพฤติกรรมตามคำแนะนำของหมอ ในการป้องกันมะเร็งเต้านมครับ
ปรึกษาลดขนาดหน้าอกชาย
ลงทะเบียนปรึกษา คลิกที่นี่
ติดต่อสาขารัชโยธิน : 062-946-2397
ติดต่อสาขาราชพฤกษ์ : 062-556-6623
ติดต่อทาง LINE : @amaraclinic
กดที่ลิ้งค์นี้ได้เลย >> https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic
ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่ง
นพ. วีรกานต์ สถิตนิรามัย (หมอวี)
แพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic Surgery)