สวัสดีครับ วันนี้หมอวีกลับมาพร้อมกับคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับเสริมหน้าอก ซึ่งมักเป็นคำถามจากทั้งคนไข้ที่เสริมหน้าอกไปแล้วระยะหนึ่ง รวมไปถึงคนไข้ที่มีแพลนจะเสริมหน้าอกกันด้วย นั่นก็คือ “เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม” เพราะหลายคนมีความกังวลว่าทำนมแล้วมีลูกจะให้ลูกดื่มนมแม่จากเต้าได้ปกติไหม? จะมีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณน้ำนมหรือเปล่า? จึงทำให้ไม่กล้าให้นมลูก และส่งผลให้ขาดโอกาสที่ลูกน้อยจะได้ดื่มนมแม่ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ถือว่าเป็นสุดยอดอาหารของทารกไปนั่นเองครับ ดังนั้น หมอจึงอยากมาไขข้อสงสัยอย่างละเอียด เพื่อให้คุณแม่ได้คลายกังวลจากเรื่องนี้ครับ
ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนนะครับว่า การผลิตน้ำนมแม่มีที่มาที่ไปอย่างไร โดยปกติแล้วน้ำนมจะถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์ที่อยู่ภายในกระเปาะเล็ก ๆ ในเนื้อเต้านม โดยเซลล์ที่ว่านี้จะถูกหล่อเลี้ยงจากเส้นเลือดบริเวณหน้าอกครับ เมื่อน้ำนมถูกผลิตขึ้นก็จะถูกเก็บไว้ตามกระเปาะภายใน แลเมื่อถึงเวลาที่คุณแม่ให้นมลูก น้ำนมก็จะถูกดูดออกมาผ่านทางท่อน้ำนมและไหลออกมาจากหัวนมนั่นเองครับ
โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกคลอดไปจนถึง 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากน้ำนมแม่นั้นมีคุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน อาทิ โปรตีน, กรดไขมัน, วิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโต รวมถึงน้ำนมแม่ยังมีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย ลดโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ (RSV), โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน และโรคไหลตายในเด็ก (SIDS) เป็นต้น นอกจากนี้ น้ำนมแม่ยังมีส่วนเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านสติปัญญา (IQ) อีกด้วยครับ
เทคนิคเสริมหน้าอก ทำนม
ในปัจจุบันการเสริมหน้าอกได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะทั้งวัสดุและเทคนิคการเสริมหน้าอกที่ไม่ได้ดูน่ากลัวเหมือนในสมัยก่อน ซึ่งวัสดุที่อยู่ในถุงซิลิโคนยังสามารถแบ่งออกเป็นถุงซิลิโคนเจลที่มีความยืดหยุ่นสูง มีความแข็งแรงทนทาน ให้สัมผัสที่เป็นธรรมชาติสูงมาก และถุงซิลิโคนน้ำเกลือที่ภายในบรรจุน้ำเกลือ โดยในปัจจุบันซิลิโคนแบบน้ำเกลือได้รับความนิยมน้อยกว่า เนื่องจากอาจมีโอกาสที่ถุงซิลิโคนจะเกิดการรั่วซึมได้มากกว่าครับ แต่ทั้งนี้ หากถุงซิลิโคนน้ำเกลือรั่วออกมา ร่างกายจะสามารถดูดซึมน้ำเกลือได้ตามธรรมชาติ ไม่ใช่สารที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายครับ
โดยหลัก ๆ แล้วการทำนมมีทั้งการใช้ถุงซิลิโคนที่มีหลากหลายผิวสัมผัส ทั้งผิวเรียบ, ผิวทราย และผิวกำมะหยี่
- ซิลิโคนผิวเรียบ ให้สัมผัสที่นิ่มเป็นธรรมชาติ แต่ต้องอาศัยการนวดหลังเสริมหน้าอกเพื่อป้องกันพังผืด
- ซิลิโคนผิวทราย ให้สัมผัสที่นิ่มยิ่งขึ้น นิ่มกว่าผิวเรียบ เป็นที่นิยมเนื่องจากไม่ต้องนวดบ่อย ๆ เหมือนผิวเรียบ
- ซิลิโคนผิวกำมะหยี่ นวัตกรรมใหม่ที่มีผิวกึ่งผิวเรียบกึ่งผิวทราย นิ่มเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องนวดบ่อย
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เสริมหน้าอกด้วยซิลิโคน Mentor ยอดฮิต ขวัญใจสาว ๆ
- เสริมหน้าอก Motiva น้องใหม่มาแรง! เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องนวด
สำหรับเรื่องรูปทรงซิลิโคนก็มีให้เลือก ทั้งทรงกลม หรือเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ แต่ทั้งนี้การเลือกรูปทรงของซิลิโคน หมอแนะนำว่าให้เลือกตามความเหมาะสมของสรีระร่างตามข้อมูลดังนี้ครับ
ซิลิโคนทรงกลม
- เหมาะกับคนที่มีเนื้อนมเยอะพอสมควร
- อัพไซซ์หน้าอกได้มาก ๆ หลายซีซี
- คนที่มีเนื้อหน้าอกหย่อนคล้อย
- คนที่ต้องการมีเนื้อเนินหน้าอก
ซิลิโคนทรงหยดน้ำ
- เหมาะกับคนที่มีเนื้อนมน้อย
- อัพไซซ์หน้าอกได้ไม่ใหญ่มากเท่าทรงกลม
- คนที่มีเนื้อหน้าอกหย่อนคล้อยเล็กน้อยเท่านั้น
- คนที่ต้องการรูปทรงเป็นธรรมชาติ ไม่เน้นเนื้อเนินหน้าอก
โดยเทคนิคในการวางซิลิโคนก็มีหลากหลายเทคนิคเช่นเดียวกันครับ ทั้งการวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ง่าย ไม่ซับซ้อน พักฟื้นก็น้อย แต่ก็อาจมีข้อเสียตรงที่ไม่เหมาะกับคนที่มีเนื้อนมน้อย และไม่สามารถเลือกทำนมขนาดที่ใหญ่มาก ๆ ได้ครับ เพราะอาจทำให้เห็นขอบซิลิโคนได้มากกว่าเทคนิคอื่น ๆ อีกทั้งหมอยังไม่แนะนำให้คนที่วางแผนจะตั้งครรภ์เลือกเสริมหน้าอกด้วยการวางซิลิโคนเหนือกล้ามเนื้อ เนื่องจากอาจมีโอกาสที่สารปนเปื้อนจากถุงซิลิโคนจะไปสัมผัสกับต่อมผลิตน้ำนมได้ครับ
เทคนิคต่อมาคือ การวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ให้ผลลัพธ์หน้าอกที่ดูสวยเป็นธรรมชาติ เสริมแล้วหน้าอกเต่งตึง ไม่มีปัญหาของผิวเป็นคลื่นซึ่งเป็นปัญหาที่คนทำนมส่วนใหญ่เป็นกังวลครับ เมื่อเสริมแล้วหน้าอกจะกระชับได้มาก เป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่หมอมักจะแนะนำคนที่มีปัญหาหน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอดกันอีกด้วยครับ แต่ก็อาจมีข้อเสียตรงที่มีการพักฟื้นนานกว่า รู้สึกเจ็บได้มากกว่าเสริมเหนือกล้ามเนื้อ
เทคนิคสุดท้ายคือ การวางซิลิโคนแบบ Dual Plan หรือวางซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อ เป็นการรวมเอาข้อดีของทั้ง 2 เทคนิคด้านบนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการวางซิลิโคนส่วนบนไว้ใต้กล้ามเนื้อ และส่วนล่างไว้เหนือกล้ามเนื้อ ลดปัญหาการเห็นขอบซิลิโคน ทำให้รูปทรงหน้าอกคล้อยเป็นธรรมชาติ โดยเทคนิควางซิลิโคนแบบ Dual Plan กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- สารพัดเทคนิคเสริมหน้าอก ที่คุณควรรู้! อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วิธีทำให้หน้าอกใหญ่มีกี่วิธี วิธีไหนดีสุด
- ซิลิโคนเสริมหน้าอกมีกี่ยี่ห้อ เลือกแบบไหนดีสุด อ่านเพิ่มเติมได้ที่ รีวิวซิลิโคนเสริมหน้าอก รุ่นไหนฮิตสุด
เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม?
มาถึงประเด็นสำคัญในวันนี้ครับ “ทำนมแล้วมีลูก หรือ เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม” หมอขอตอบเพื่อให้คลายกังวลเลยครับว่า สามารถให้นมลูกหลังเสริมหน้าอกได้ครับ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเสริมหน้าอกเหนือกล้ามเนื้อ, ใต้กล้ามเนื้อ หรือระหว่างกล้ามเนื้อ จะเป็นการวางตำแหน่งซิลิโคนเสริมหน้าอกใต้เนื้อเต้านมที่อยู่คนละส่วนกับกับต่อมน้ำนมที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำนม จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมแต่อย่างใดครับ
นอกเหนือจากนั้น ในการเสริมหน้าอก ศัลยแพทย์จะไม่มีการตัดท่อน้ำนม ไม่มีการเข้าไปยุ่งกับส่วนของต่อมน้ำนมเลยครับ ทำให้คุณแม่ที่เคยเสริมหน้อกมาหรือทำนมแล้วมีลูกและจำเป็นต้องให้นมแม่สามาถให้นมลูกได้ตามปกติ ปลอดภัย สบายใจคลายกังวลได้เลยครับ แต่ทั้งนี้ หมอก็ยังแนะนำว่าให้เลือกเสริมหน้าอกกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เท่านั้นนะครับ เพื่อผลลัพธ์และความปลอดภัยสูงสุดครับ
“หลังทำนมให้นมลูกได้ไหม”
สาระนอกรอบ! เสริมหน้าอกด้วยไขมันตัวเอง หรือ ฉีดไขมันหน้าอก ให้นมลูกได้ไหม?
นอกจากการเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนแล้ว ในปัจจุบันยังมีทางเลือกในการเสริมหน้าอกที่เป็นวัสดุเสริมหน้าอกธรรมชาติที่เป็นไขมันของเราเอง โดยการดูดไขมันและนำไขมันที่ได้มาผ่านกระบวนการคัดแยกเซลล์ไขมันที่มีคุณภาพสูง แล้วจึงนำกลับมาฉีดไขมันหน้าอก หรืออาจใช้เทคนิคเสริมหน้าอกไฮบริด ที่เป็นการผสมผสานทั้งการใส่ซิลิโคนเสริมหน้าอกร่วมกับฉีดไขมันหน้าอก เพื่อขยับไซซ์หน้าอกได้มากขึ้นจากซิลิโคนและเติมเต็มร่องหน้าอกและขอบซิลิโคนให้ดูกลมกลืนเป็นธรรมชาติมากขึ้นครับ
สำหรับคุณแม่หลังคลอดหรือกำลังตั้งครรภ์อยู่ที่มีการเสริมหน้าอกด้วยไขมันตัวเอง หรือ ฉีดไขมันหน้าอก สามารถให้นมบุตรได้ตามปกติเลยครับ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมคุณแม่ เพราะการฉีดไขมันหน้าอกไม่มีช่องทางที่จะเข้าไปรบกวนต่อมน้ำนมหรือท่อน้ำนมครับ แต่ทั้งนี้ หมอแนะนำให้ฉีดไขมันหน้าอกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เท่านั้นนะครับ จึงจะมีความปลอดภัย 100%
ทางเลือกในการเสริมหน้าอกที่ Amara Clinic สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดกันต่อได้ที่นี่เลยครับ
- ฉีดไขมันหน้าอก เสริมอกด้วยไขมันตัวเอง ปลอดภัยและเป็นธรรมชาติ
- เสริมหน้าอกไฮบริด ผสาน 2 เทคนิค ทั้งเสริมหน้าอกด้วยซิลิโคนและฉีดไขมันหน้าอก ร่องอกชิด เนินอกสวย ไม่เห็นขอบ
ทำนมแล้วมีลูก ปริมาณน้ำนมและสารอาหารจะลดลงไหม?
โดยทั่วไปแล้ว คุณแม่ที่ทำนมแล้วมีลูกสามารถผลิตน้ำนมได้ปกติเหมือนกับคุณแม่ที่ไม่ได้มีการเสริมหน้าอกครับ แต่ในบางกรณีคุณแม่ที่เสริมหน้าอกมาก่อนอาจมีอาการชาที่หัวนมได้บ้าง และอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปหลังทำนม ส่วนเรื่องที่คุณแม่เสริมหน้าอกกังวลว่าทำนมแล้วมีลูกจะทำให้น้ำนมน้อยกลง หรือมีสารอาหารที่ไม่เพียงพอ หมอตอบได้เลยครับว่า ตัดความกังวลออกไปได้เลย เพราะอย่างที่หมอบอกในข้างต้นนะครับว่า การใส่ซิลิโคนเสริมหน้าอกจะอยู่ในตำแหน่งใต้เนื้อเต้านมซึ่งอยู่คนละส่วนกับต่อมที่ผลิตน้ำนมรวมไปถึงท่อน้ำนม จึงไม่มีผลกระทบต่อน้ำนมแม่แต่อย่างใด แต่ทั้งนี้ ปริมาณน้ำนมจะมีมากหรือน้อย และคุณภาพของสารอาหารจะครบถ้วนไหม ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคุณแม่ ดังนี้ครับ
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำเยอะ ๆ เลือกทานอาหารที่บำรุงน้ำนม เช่น หัวปลี, ขิง, ใบกระเพรา, ฟักทอง, ใบแมงลัก เป็นต้น
- พยายามให้ลูกเข้าเต้าดูดนมอยู่เสมอ เพื่อกระตุ้นน้ำนมให้ไหลปกติ น้ำนมไหลแรง ไหลเยอะ ลดภาวะท่อน้ำนมอุดตัน
- สวมเสื้อชั้นในที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่น เสื้อชั้นในที่สามารถโอบกระชับเต้านมอย่างพอดี
- ให้คุณแม่นึกอยู่เสมอว่า การให้ลูกดื่มนมแม่นั้นจะเป็นประโยชน์สูงสุดกับตัวลูกน้อย ช่วยลดความเสี่ยงเกิดโรคร้าย เป็นภูมิคุ้มกันชั้นยอด และต้องมีความมั่นใจว่าทำนมแล้วมีลูกจะสามารถให้นมลูกได้อย่างปลอดภัย รวมถึงต้องตัดความกังวลที่ว่า เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม ออกไป เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล ที่อาจส่งผลให้น้ำนมมาช้าและไหลน้อยครับ
ทำนมแล้วมีลูก ให้ลูกดูดนม หน้าอกจะหย่อนยานจริงไหม?
หมอเชื่อว่ามีคุณแม่ทำนมแล้วมีลูกหลายคนที่คิดว่า หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด หรือ นมเหี่ยวหลังคลอด จะเป็นได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ทำนมเพราะลูกทั้งดูดทั้งดึงแรง ๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งคุณแม่ทำนมแล้วมีลูกและในคุณแม่ที่ไม่ได้เสริมหน้าอกต่างก็มีโอกาสที่เต้านมจะหย่อนคล้อยได้เท่ากันครับ และการให้นมลูกก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด หรือนมเหี่ยวหลังคลอด แต่สาเหตุที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยหลังคลอด หรือนมเหี่ยวหลังคลอดนั้นเกิดจากการขยายของหน้าอก รวมถึงการบีบตัวของท่อน้ำนมในขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ โดยหลังจากที่คลอดบุตรแล้วก็อาจมีการหดตัว จึงส่งผลให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอดได้ครับ รวมไปถึงสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด อาทิ
- ขนาดหน้าอกที่ใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะเป็นสาเหตุให้หน้าอกหย่อนยาน
- การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว ทำให้ผิวหนังยืดและหดตัวเร็วเกินไป
- การสูบบุหรี่ การโดนแสงแดดบ่อย ๆ ทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื่น ส่งผลให้นมเหี่ยวหลังคลอด
- แรงกระแทกโดยเต้านมไม่ได้รับการโอบอุ้ม การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่ต้องมีแรงกระแทก โดยที่ไม่ใส่เลือกใส่เสื้อชั้นในหรือสปอร์ตบราที่เหมาะสม อาจทำให้เต้านมหย่อนคล้อยได้ไวขึ้น
สำหรับในกรณีทำนมแล้วมีลูกและที่มีปัญหาเรื่องเต้านมหย่อนคล้อย หลังคลอด เมื่อลูกหย่านมแม่แล้วสามารถเข้ารับการปรึกษาศัลยแพทย์เรื่องการเสริมหน้าอกเพื่อกระชับเต้านมได้ครับ หรือสามารถส่งรูปเข้ามาให้หมอประเมินก่อนได้ครับ ที่ Line : @amaraclinic
คำแนะนำสำหรับคุณแม่เสริมหน้าอกที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
อย่างที่หมอได้แนะนำไปข้างต้นนะครับว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เนื่องจากมีสารอาหารที่ครบถ้วนและยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ของลูกน้อยได้อย่างดีเยี่ยม หมอจึงสนับสนุนให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ครับ สำหรับคุณแม่ที่เสริมหน้าอกมา แล้วกลัวว่าเสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม ก็คงได้คำตอบกันไปแล้วว่าทำได้แน่นอน 100% ครับ และยังไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำนมกันอีกด้วย แต่ทั้งนี้ หมอมีคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อควรรู้ของการเสริมหน้าอกแล้วต้องให้นมบุตรครับ
- การเสริมหน้าอกขนาดใหญ่มาก ๆ อาจทำให้ระหว่างให้นมบุตรจะมีอาการเจ็บ คัด ตึงที่เต้านมได้ค่อนข้างมาก
- ในรายที่ต้องการเสริมหน้าอกและมีแพลนจะมีบุตร หมอแนะนำให้ใช้การผ่าตัดเปิดแผลเสริมหน้าอกทางใต้ราวนมและทางรักแร้ดีที่สุด เนื่องจากการผ่าตัดผ่านทางปานนมอาจมีความเสี่ยงที่จะกระทบต่อท่อน้ำนมได้มากกว่า หากเสริมหน้าอกกับศัลยแพทย์ที่ไม่มีความชำนาญเพียงพอ
- หมอแนะนำว่าหลังเสริมหน้าอกควรรอประมาณ 1 ปีถึงจะวางแผนการมีบุตร เนื่องจากต้องอาศัยเวลาให้เนื้อเยื่อต่าง ๆ ฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่
- ทั้งในรายทั่วไปที่เสริมหน้าอกและคุณแม่ที่ทำนมแล้วมีลูก หากต้องมีการตรวจเต้านมด้วยแมมโมแกรม จะต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบว่าได้เสริมหน้าอกมาก่อน ทั้งนี้ เพื่อการพิจารณาตรวจด้วยเทคนิคพิเศษ
บทความที่เกี่ยวข้อง
ข้อสรุป
สำหรับข้อสงสัยที่ว่า เสริมหน้าอกให้นมลูกได้ไหม หมอเน้นย้ำอีกครั้งครับว่า ทำนมแล้วมีลูกสามารถให้นมลูกได้ตามปกติ โดยไม่มีผลต่อการผลิตน้ำนม, ปริมาณ และคุณภาพของน้ำนมครับ รวมถึงการให้นมลูกก็ไม่ได้เป็นสาเหตุของหน้าอกหย่อนคล้อย หลังคลอด หรือปัญหานมเหี่ยวหลังคลอด ดังนั้น คุณแม่ที่เพิ่งจะอัพไซซ์หน้าอกมาสบายใจได้ครับว่าลูกน้อยจะได้รับสารอาหารจากน้ำนมแม่ตามปกติ แต่ทั้งนี้ คุณแม่ควรดูแลตัวเองเพื่อบำรุงน้ำนมกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ทันทีด้วยนะครับ สำหรับครั้งหน้า หมอจะมีสาระน่ารู้หรือจะมาตอบคำถามจากคนไข้เรื่องอะไร อย่าลืมติดตามกันให้ได้นะครับ
ปรึกษาแพทย์ที่ Amara Clinic
ลงทะเบียนปรึกษา คลิกที่นี่
ติดต่อสาขารัชโยธิน : 062-946-2397
ติดต่อสาขาราชพฤกษ์ : 062-556-6623
ติดต่อทาง LINE : @amarasurgery
กดที่ลิ้งค์นี้ได้เลย >> https://lin.ee/ssQqAGV
ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่ง
นพ. วีรกานต์ สถิตนิรามัย (หมอวี)
แพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic Surgery)