นมแฝด

นมแฝดน่ากลัวไหม? มีวิธีแก้ยังไงบ้าง?

ใครที่ตัดสินใจเสริมหน้าอกไปแล้ว ก็อยากให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่สวยที่สุด ทั้งภายในร่มผ้า และภายนอกร่มผ้าเลยใช่มั้ยครับ วันนี้หมอจะมาแชร์ปัญหาเรื่องนมแฝด ที่เป็นผลข้างเคียงหลังเสริมหน้าอกที่ไม่ควรเกิดขึ้นให้หลาย ๆ  คนได้อ่านกันครับ บางคนอาจจะเคยได้ยินแต่ปัญหาหน้าอกห่าง แต่คราวนี้เป็นเรื่องหน้าอกที่ชิดกันเกินไปครับ ดังนั้นเรามาหาคำตอบกันดีกว่าว่ามันเกิดจากอะไร? ป้องกันได้ไหม? และแก้ไขนมแฝดได้อย่างไรบ้าง? โดยหมอวี ศัลยแพทย์ตกแต่งประจำ Amara Clinic

นมแฝดคืออะไร? เป็นแบบไหน?

อย่างที่เรารู้กันว่า… ทุกอย่างล้วนควรอยู่ในจุดที่พอดีนะครับ การเสริมหน้าอกก็เช่นกัน หากแพทย์วางซิลิโคนเสริมหน้าอกห่างกันเกินไป ก็จะทำให้เกิดปัญหาหน้าอกห่าง เนินไม่ชิดได้ และถ้าแพทย์วางซิลิโคนเสริมหน้าอก + เลาะโพรงวางซิลิโคนชิดกันเกินไป ก็อาจจะทำให้เกิดนมแฝดได้ครับ ดังนั้น แพทย์ที่เชี่ยวชาญจริง จะต้องทราบว่าควรวางซิลิโคนในตำแหน่งไหน จึงจะเหมาะสมกับคนไข้แต่ละคนมากที่สุด โดยทั่วไปที่นิยมกันคือการวางซิลิโคนห่างกันประมาณ 3 เซ็นติเมตรครับ ตำแหน่งนี้จะทำให้หน้าอกออกมาได้รูป ไม่ห่างเกินไป และไม่ชิดจนเกินไป

ภาวะหน้าอกชิดหลังเสริมหน้าอก หรือนมแฝด (Symmastia) นมแฝดคือปัญหาที่เกิดขึ้นหลังการเสริมหน้าอก ซึ่งพบได้น้อยมาก ๆ ครับ การมีนมแฝดจะทำให้หน้าอกดูแปลก และผิดปกติมาก เพราะสรีระของทรวงอกปกตินั้น จะต้องมีร่องตรงกลางที่คล้าย ๆ กับการแบ่งหน้าอกออกเป็นสองฝั่งอยู่ ส่วนลักษณะของหน้าอกแฝดจะเหมือนกับว่า ก้อนเต้านมด้านใน (ซิลิโคน) อยู่ติดกันเป็นก้อนเดียวตรงกลาง จึงทำให้ปัญหานมแฝดเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อความสวยงามโดยตรง และทำให้สาว ๆ หลายคนรู้สึกแย่ลงกว่าเดิมอีกครับ 

ลักษณะของนมแฝด

นมแฝด

ขอบคุณภาพประกอบจาก : absolutemakeover

สาเหตุที่ทำให้เกิดนมแฝด

ปัญหานมแฝดเกิดได้จากหลายปัจจัยนะครับ แต่ส่วนใหญ่เกิดจากแพทย์เป็นหลักครับ หมอจะอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ นะครับ การที่เราจะวางซิลิโคนเสริมหน้าอกได้ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมหน้าอกเหนือกล้ามเนื้อ หรือวางใต้กล้ามเนื้อ หมอจะต้องมีการเลาะโพรงใต้เต้านมก่อนนะครับ ซึ่งเทคนิคในการเลาะโพรงของแพทย์แต่ละคนนี่แหละครับ ที่จะส่งผลต่อความชิดความห่างของหน้าอกหลังทำ ถ้าแพทย์ที่คิดแต่ว่าอยากให้นมชิด โดยไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เน้นเลาะโพรงเพื่อให้ซิลิโคนชิดกันที่สุด ก็จะทำให้มีโอกาสเกิดนมแฝดได้มากขึ้นไปอีกครับ

ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ก็จะมีในเรื่องของสรีระเดิมของคนไข้ (ลักษณะของซี่โครง) และความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่กำเนิดครับ อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่อยากเสริมหน้าอกแล้วเจอนมแฝด หมอแนะนำให้เลือกคลินิกทำนมที่ได้มาตรฐาน แพทย์เป็นศัลยแพทย์ตกแต่งจริง มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เสริมหน้าอกมามากแล้ว เพราะไม่อย่างนั้น เราอาจจะต้องลุ้นกันครับ ว่าผลลัพธ์หลังเสริมหน้าอกที่ได้ จะปังตามที่เราต้องการรึเปล่า

วิธีป้องกันการเกิดนมแฝด

  • เลือกแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง
  • เลือกแพทย์ที่มีประสบการณ์มานาน
  • เลือกคลินิกเสริมหน้าอกที่ได้มาตรฐาน
  • เลือกวางซิลิโคนใต้ หรือระหว่างกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มฉีดไขมันหน้าอก หากต้องการอกชิด
  • นวดหน้าอกตามที่แพทย์แนะนำ ไม่บีบแรง
  • เลือกเสริมซิลิโคนขนาดที่พอดีกับตัว
นมแฝด

วิธีการแก้ไขปัญหานมแฝด

สำหรับเคสที่เจอประสบการณ์เสริมหน้าอกมาแล้ว เป็นนมแฝด หรือหน้าอกมีลักษณะที่ชิดกันเกินไป ไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ครับ แต่หมอขอแนะนำเทคนิคการเสริมหน้าอกที่ทำให้ได้หน้าอกเป็นทรงสวย และชิดตามที่หลาย ๆ คนต้องการ แถมไม่เสี่ยงแก้ด้วยนะครับ หมอเรียกเทคนิคนี้ว่าการเสริมหน้าอกไฮบริด ตัวนี้จะเป็นการเสริมซิลิโคนเข้าไป เพื่อทำให้หน้าอกใหญ่ขึ้น จากนั้นหมอก็จะฉีดไขมันหน้าอก เพื่อเพิ่มความชิดของหน้าอกให้มากขึ้น กลบขอบซิลิโคนให้จางลง และทำให้หน้าอกดูสวยเป็นธรรมชาติครับ แทนที่จะเสริมซิลิโคนเดี่ยว ๆ ก็เติมไขมันเข้าไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ

วิธีแก้ไขปัญหาหน้าอกแฝด

เย็บปิดช่องว่าง เพื่อให้ซิลิโคนแยกออกจากกัน แต่วิธีนี้ อาจจะไม่ได้ทำให้หน้าอกดูห่างจากนมแฝดมากนะครับ เพราะเป็นเหมือนการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุเสียมากกว่า หน้าอกยังดูชิดกันเหมือนเดิม เพียงใต้ซิลิโคนเสริมหน้าอกจะไม่อยู่ติดกันเหมือนก่อนแก้ครับ

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี

ผ่าตัดแก้หน้าอก หรือการถอดซิลิโคนเสริมหน้าอกเดิมออก จัดการเย็บปิดโพรงช่องว่างตรงกลาง และเสริมหน้าอกเข้าไปใหม่ โดยการวางซิลิโคนใต้กล้ามเนื้อ หรือวางซิลิโคนแบบระหว่างกล้ามเนื้อครับ อันนี้เป็นการแก้หน้าอกใหม่ทั้งหมดเลยครับ จึงสามารถทำให้ผลลัพธ์ที่ออกมาดูสวยงามได้อีกครั้ง หน้าอกจะเป็นทรงสวยมากกว่าการเย็บปิดช่องว่างเพียงอย่างเดียวครับ

ปัญหาอื่น ๆ หลังเสริมหน้าอก

  • หน้าอกห่าง : เนินหน้าอกไม่ชิด เห็นขอบซิลิโคนชัด ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ (แก้ได้ด้วยการฉีดไขมันหน้าอก)
  • หน้าอกไม่เท่ากัน : ปกติหน้าอกทั้งสองข้างของเราไม่เท่ากันอยู่แล้ว แต่หลังจากที่เสริมหน้าอกมา หน้าอกควรจะมีขนาดที่ใกล้เคียงกันมากที่สุดครับ ซึ่งอาจเกิดได้จากการเลือกไซซ์ซิลิโคนผิด หรือเกิดจากการบวมหลังเสริมหน้าอกก็ได้ครับ หากทำไปสักพักแล้วยังมีขนาดแตกต่างกันอย่างชัดเจน ลองปรึกษากับทางแพทย์ดูนะครับ
  • อาการหัวนมชา : เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณหน้าอก ได้รับความเสียหายนะครับ อันนี้เป็นปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ จะหายไปในช่วง 3 เดือนแรก แต่ถ้าหากว่ามีอาการชานานกว่านี้ ให้แจ้งแพทย์เพื่อรับทราบถึงปัญหา และวิธีการแก้ไขครับ
  • อาการเสียวหัวนม : อาการนี้เป็นปกตินะครับ บางคนเสียวขึ้นมาก บางคนเสียวน้อยลง เกิดจากการที่เส้นประสาทบริเวณหัวนมได้รับการกระทบกระเทือนครับ โดยส่วนใหญ่จะเป็นแค่ช่วงแรก หากรู้สึกว่ามาเป็นมาหลายเดือนแล้ว ให้แจ้งแพทย์ครับ
  • หน้าอกแข็งมาก : เกิดจากการที่พังผืดหดรัดรอบเต้านม อันเนื่องมาจากไม่ได้มีการบีบนวดหน้าอกอย่างสม่ำเสมอครับ ปัญหานี้ อาจจะทำให้หน้าอกไม่เป็นธรรมชาติในภายหลังได้ บางเคสรูปทรงอาจจะดูดี แต่จับแล้วแข็งมาก ๆ ไม่เนียนเหมือนหน้าอกจริง อาจทำให้เกิดความไม่มั่นใจเมื่อต้องใช้งานได้ครับ
  • เสียงของซิลิโคน : ในบางเคสอาจจะรู้สึกว่าได้ยินเสียงอะไรดังออกมาจากเต้านมได้ครับ เสียงนี้เกิดจากการที่เราเคลื่อนไหว  แล้วในบริเวณดังกล่าวมีอากาศหรือน้ำเหลืองค้างไว้ครับ ปกติแล้ว เสียงนี้จะหายไปภายใน 1 เดือนหลังเสริมหน้าอก
นมแฝด

เสริมหน้าอกยังไงให้ปัง?

เสริมหน้าอกให้ปังต้องทำยังไงบ้าง? ก่อนอื่นหมอต้องบอกว่าหน้าอกปัง ๆ หรือหน้าอกสวย ๆ ของคนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกันนะครับ แต่สำหรับหมอคือหน้าอกที่สวยได้รูป รับกับสรีระของคนไข้ ดูเป็นธรรมชาติ ดูเนียนเหมือนหน้าอกจริง และทำให้คนไข้พึงพอใจ มั่นใจไปกับหน้าอกนี้มากที่สุด

สำหรับหน้าอกสไตล์ Natural Elegance คือ หน้าอกที่มีขนาดพอดีสมส่วนกับคนไข้, ไม่มีขอบซิลิโคนโผล่มาให้เห็น, แผลของหน้าอกสวย ไม่เกิดคีลอยด์ และมีความธรรมชาติทั้งรูปทรงและสัมผัสครับ

2. การเลือกซิลิโคนให้เหมาะสม

ซิลิโคนเสริมหน้าอกมีให้เลือกหลายทรง หลายขนาดเลยครับ ทั้งซิลิโคนเสริมหน้าอกทรงหยดน้ำ, ซิลิโคนทรงกลม, ผิวเรียบ, ผิวทราย, ผิวกำมะหยี่ และขนาดของซิลิโคนตั้งแต่ 50 ไปจนถึงหลักพัน แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราควรเสริมหน้าอกกี่ CC ดี? ตรงขึ้นก็จะขึ้นอยู่กับปัจจัยของคนไข้แต่ละคนตามข้อ 1. เลยครับ ร่วมกับการประเมินของแพทย์ หมอก็จะดูว่าในแต่ละเคสเหมาะกับซิลิโคนประมาณกี่ CC แล้วก็ให้คนไข้ลองสวมบรา และตัดสินใจเรื่องขนาดของซิลิโคนครับ (อ่านเพิ่มเติม : เสริมหน้าอก 300 CC ดีไหม?)

3. เทคนิคเสริมหน้าอกของแพทย์

ศัลยแพทย์แต่ละท่าน จะมีความเชี่ยวชาญ และการเลือกเทคนิคมาใช้แตกต่างกันนะครับ ถ้าเลือกได้แล้วว่าจะไปเสริมหน้าอกที่ไหนดี ให้สอบถามแพทย์ให้แน่ชัดว่าใช้เทคนิคอะไรบ้าง และเทคนิคดังกล่าวช่วยในเรื่องของอะไร มีข้อดี-ข้อเสียยังไงบ้าง? รวมไปถึงว่ามันเหมาะกับเคสของเราอย่างไรครับ

นมแฝด

เทคนิคเสริมหน้าอกที่ Amara Clinic

  • Hybrid Dual Plane Technique : เสริมหน้าอกซิลิโคน โดยการวางซิลิโคนแบบระหว่างกล้ามเนื้อ จากนั้นก็จะดูดไขมันออกมา และนำไปปั่นคัดกรอง เพื่อเลือกเซลล์ไขมันที่ดีที่สุด ไปเติมเต็มที่หน้าอก เพื่อกลบขอบซิลิโคนให้จาง และทำให้หน้าอกมีสัมผัสและรูปทรงที่ธรรมชาติที่สุด
  • Breast Funnel Technique : การใช้กรวยพิเศษ ในการส่งซิลิโคนเข้าไป ทำให้มีการเปิดแผลน้อย เสียเลือดน้อยลง และบอบช้ำน้อย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนไข้ไม่ต้องเสียเวลาในการพักฟื้นนานหลายวัน
  • Seamless Technique : เป็นการใช้กาวชนิดพิเศษ ในการปิดแผลเสริมหน้าอก ทำให้หน้าอกสวย ไม่มีรอยเย็บ ไร้รอยตะขาบ โดยตัวกาวจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองใด ๆ 
  • Bloodless Technique : หมอจะใช้มีดจี้ไฟฟ้า ในการผ่าตัดครับ ทุกครั้งที่มีการใช้มีดตัวเลือดจะถูกห้ามโดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดการเสียเลือดน้อย ส่งผลให้ร่างกายอักเสบน้อย มีอาการเจ็บน้อยลง และไม่ต้องใส่สายเดรนระบายเลือดใด ๆ ครับ

สรุป

       “นมแฝด” ทำให้หน้าอกดูแปลกไม่สวยงาม สามารถแก้ไขหน้าอกได้ครับ หากเสริมมาแล้วหน้าอกชิดกันมากเกินไป ทั้งนี้ สำหรับใครที่กำลังมองหาคลินิกเสริมหน้าอกอยู่ และกังวลว่าจะเป็นนมแฝดไหม? หมอแนะนำให้ดูฝีมือแพทย์ ดูรีวิวเสริมหน้าอกมาก ๆ และศึกษาเรื่องการเสริมหน้าอกให้ดีก่อนตัดสินใจครับ อย่าเลือกคลินิกที่เน้นราคาถูกเป็นหลัก แต่ให้เลือกที่ผลงานดี มีความปลอดภัย และได้มาตรฐาน

ปรึกษาแพทย์ที่ Amara Clinic

ลงทะเบียนปรึกษา คลิกที่นี่
ติ
ดต่อสาขารัชโยธิน : 062-946-2397
ติดต่อสาขาราชพฤกษ์ : 062-556-6623
ติดต่อทาง LINE : @amaraclinic
กดที่ลิ้งค์นี้ได้เลย >> https://line.me/R/ti/p/@amaraclinic

ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่ง

นพ. วีรกานต์ สถิตนิรามัย (หมอวี)
แพทย์ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic Surgery)

ลงทะเบียนปรึกษาฟรี


              บทความนี้ จัดทำขึ้นโดย Amara Clinic (เอมาร่า คลินิก) ขอสงวนสิทธิ์ในการห้ามมิให้ผู้ใดใช้ประโยชน์ คัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่บทความนี้ในนามอื่น (ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา, ข้อมูลทั้งหมด หรือบางส่วนก็ตาม) โดยไม่ได้รับอนุญาต หากพบเจอจะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

    ใส่ความเห็น

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *